การทำ ฐานวางตู้คอนเทนเนอร์

ฐานวางตู้คอนเทนเนอร์

การวางรากฐาน
ตู้คอนเทนเนอร์

ในยุคที่รูปแบบการทำงานไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในบนตึกสูงหรือห้องประชุม ห้องขนาดกะทัดรัดแต่ครบครันไปด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่ถูกใจใครหลายๆ คน ปัจจุบันมีการดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์มือสองให้กลายมาเป็นพื้นที่ทำงานและใช้สอย ตอบโจทย์ความต้องการพื้นที่ทำงานของหนุ่มสาวออฟฟิศยุคใหม่ ไปจนถึงผู้ที่อยากเริ่มกิจการค้าขายในพื้นที่จำกัด

การจับจองพื้นที่สำหรับใช้งานคู้คอนเทนเนอร์เหล่านี้ มีหลักเกณฑ์สำคัญอยู่ที่การจัดสรรและเตรียมพื้นที่ให้พร้อมรองรับการใช้ชีวิตภายในตู้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของตู้คอนเทนเนอร์ ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ และการทำ ฐานวางตู้คอนเทนเนอร์ ตู้ออฟฟิศ ก่อนการใช้งานจริง

ตู้คอนเทนเนอร์มีกี่ประเภท ?  

ตู้คอนเทนเนอร์
มีกี่ประเภท ?  

ตู้คอนเทนเนอร์ คืออะไร มีกี่ประเภท

ตู้คอนเทนเนอร์ (Container Box) คือ ตู้ขนาดใหญ่ที่ผลิตด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม ภายในใช้บรรจุสินค้าสำหรับการขนส่งทางเรือที่ต้องใช้ระยะเวลานานอย่างน้อย 15 วัน จึงเป็นตู้ที่มีความแข็งแรงและรองรับน้ำหนักที่สามารถซ้อนกันได้อย่างน้อย 10 ชั้น มีประตูเปิด-ปิดแข็งแรง มิดชิด เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าได้คราวละมากๆ โดยที่สินค้าไม่ได้รับความเสียหาย

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์
  • ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Dry Box (Dry Cargoes)

ตู้คอนเทนเนอร์สำหรับใส่สินค้าทั่วไปที่ไม่ต้องการรักษาอุณหภูมิ มีหลายขนาด เลือกใช้ตามความเหมาะสมของสินค้าที่ต้องการขนส่ง สามารถบรรจุได้ตั้งแต่ อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง เสื้อผ้า ไปจนถึง เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางรถยนต์ กระเป๋าเดินทาง โดยสินค้าที่ขนส่งโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Dry Box ต้องมีการทำที่กั้นเพื่อป้องกันสินค้าเคลื่อนที่จนเกิดความเสียหายด้วย

  • ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Reefer (Refrigerator Cargoes)

ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็น สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ได้ โดยจะมีที่วัดอุณหภูมิแสดงให้เห็นสถานะของอุณหภูมิของตู้สินค้า เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่ต้องการการรักษาอุณหภูมิที่คงที่ เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลไม้ ไอศกรีม ช็อคโกแลต ยา อุปกรณ์ทางการแพทย์บางประเภท สารเคมีในห้องทดลอง

  • ตู้คอนเทนเนอร์แบบ  Open Top

ตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่มีหลังคา สำหรับใช้ในการวางสินค้าขนาดใหญ่มีความสูงเกินกว่า 2.7 เมตร ซึ่งไม่สามารถเคลื่อนย้ายผ่านประตูตู้ได้ โดยส่วนใหญ่ตู้คอนเทนเนอร์แบบนี้จะมีขนาด 40 ฟุต ใช้ขนส่งเครื่องจักร ท่อ วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ หรือยานพาหนะที่มีลักษณะสูงเป็นพิเศษ

  • ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Flat Rack

ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีพื้นราบ เปิดโล่งทั้งด้านบนและด้านข้าง มีขนาดกว้างและยาวตามมาตรฐานตู้คอนเทนเนอร์ มีฐานพื้นสำหรับใส่สินค้าที่มีขนาดใหญ่ กว้างหรือสูงเป็นพิเศษ  มีทั้งขนาด 20 ฟุต และ 40 ฟุต เหมาะสำหรับขนส่งเครื่องจักร แท่งหิน ประติมากรรม รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ ท่อชนิดต่างๆ

  • ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Garment

ตู้คอนเทนเนอร์ที่ออกแบบสำหรับใช้ขนส่งเสื้อผ้าที่ไม่ต้องพับหรือบรรจุหีบห่อ โดยภายในตู้จะมีราวไว้สำหรับแขวนเสื้อผ้า เพื่อป้องกันการยับระหว่างขนส่ง

  • ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Ventilated

ตู้คอนเทนเนอร์ที่ออกแบบให้มีช่องระบายอากาศ ใช้สำหรับขนส่งสินค้าทางการเกษตรโดยเฉพาะ

  • ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Tank (ISO Tank)

ตู้คอนเทนเนอร์ที่ออกแบบมาให้ภายในเป็นเหมือนถังบรรจุของเหลว สามารถบรรจุของเหลวได้มากกว่าการบรรจุใส่ถังธรรมดา และสามารถขนย้ายได้ง่ายกว่า ใช้ขนส่งของเหลวทั่วไปและของเหลวที่เป็นสารอันตรายได้

การขนส่งทางน้ำโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์

การขนส่งทางน้ำโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ได้รับความนิยมในกลุ่มธุรกิจส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากประหยัดต้นทุนและมีความปลอดภัย แต่เมื่อเป็นวัตถุขนาดใหญ่และมีความทนทาน ตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังมีคุณภาพตามมาตรฐานจึงถูกนำมาหมุนเวียนใช้ซ้ำ แต่ไม่ใช่แค่กับการขนส่งทางทะเลเท่านั้น ปัจจุบันตู้คอนเทนเนอร์มือสองยังถูกนำไปดัดแปลงเพื่อการใช้งานในรูปแบบอื่น ด้วยขนาด ความแข็งแรง และคุณสมบัติของตู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นพื้นที่ใช้สอยได้ไม่ต่างกับห้องในบ้าน ตู้คอนเทนเนอร์มือสอง จึงกลายมาเป็นตู้ที่พัก ตู้สำนักงาน ตู้ร้านค้า หรือแม้แต่บ้านตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งการดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์ให้เป็นพื้นที่ใช้สอยเหล่านี้ มีทั้งแบบสำเร็จรูป และสามารถออกแบบตามความต้องการใช้งานได้

ฐานวางตู้คอนเทนเนอร์

สิ่งสำคัญที่ต้องรู้เกี่ยวกับ

สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ออฟฟิศและบ้านตู้คอนเทนเนอร์ จำเป็นต้องมีการวางรากฐานเพื่อให้พื้นที่มีความมั่นคง ปลอดภัยต่อการใช้งาน สามารถศึกษาและทำความเข้าใจผ่านวิดิโอ ทำฐานราก เองง่ายๆ ใครๆก็ทำได้ ฐานรากบ้าน ฐานรากตู้คอนเทนเนอร์

ทั้งนี้ เราได้สรุปออกมาให้เข้าใจได้ง่าย ดังนี้

  1. วางโครง กำหนดขอบเขตพื้นที่ที่จะวางตู้ ใช้โครงหลักเป็นเหล็กปลายแหลม และโครงเสริมเป็นไม้เพื่อช่วยประคอง หลังจากนั้นใช้แผ่นไม้วางเป็นกรอบให้เข้าฉากตามแนวพื้นที่ที่จะใช้วางตู้คอนเทนเนอร์ 
  2. เคลียร์หน้าดินในบริเวณที่เตรียมไว้ ถอนหญ้าทิ้ง และเกลี่ยดินให้เรียบสม่ำเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโพรงในดิน
  3. ลงทรายชนิดหยาบให้เต็มพื้นที่ กลบทรายให้เรียบแน่น ปูเหล็กไวร์เมชยึดหน้าดินโดยขึงติดกับโครงเหล็ก ทิ้งไว้ 1 คืน
  4. เทปูนลงบนพื้นที่ให้เต็ม เกลี่ยให้แน่นทับเหล็กไวร์เมช ฉาบหน้าปูนให้เรียบเนียน แล้วทิ้งไว้จนกว่าปูนจะแห้ง แล้วจึงรื้อโครงไม้ออก

สิ่งสำคัญที่ต้องรู้เกี่ยวกับการวางรากฐานตู้คอนเทนเนอร์

ตู้ที่พัก ตู้สำนักงาน

การดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์มือสองให้เป็นตู้ที่พัก ตู้สำนักงาน ตู้ร้านค้า และบ้านตู้คอนเทนเนอร์ เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตสมัยใหม่ นอกจากการออกแบบตู้คอนเทนเนอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานแล้ว ก็ต้องให้ความสำคัญกับการวางรากฐานตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อให้การใช้สอยและใช้ชีวิตในตู้เหล่านี้มีประสิทธิภาพ มั่นคง และปลอดภัย